สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 4-10 ธันวาคม 2563

 

ข้าว
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2563/64 ประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์และอุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 28.786 ล้านตันข้าวเปลือกอุปทาน 30.865 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว
2.1) การวางแผนการผลิตข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการวางแผนการผลิตข้าว ปี 2563/64
รวม 69.409 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 30.865 ล้านตันข้าวเปลือก จำแนกเป็น รอบที่ 1พื้นที่ 59.884 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 24.738 ล้านตันข้าวเปลือก และรอบที่ 2 พื้นที่ 9.525 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 6.127 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถปรับสมดุลการผลิตได้ในการวางแผนรอบที่ 2 หากราคามีความอ่อนไหว ความต้องการใช้ข้าวลดลง และสถานการณ์น้ำน้อย รวมทั้งการปรับลดพื้นที่การปลูกข้าวไปปลูกพืชอื่น โดยจะมีการทบทวนโครงการ
ลดรอบการปลูกข้าวก่อนฤดูกาลเพาะปลูกข้าวรอบที่ 2
2.2) การจัดทำพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการจัดทำพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 จำนวน 59.884 ล้านไร่ แยกเป็น 1) ข้าวหอมมะลิ 27.500 ล้านไร่ ผลผลิต 9.161 ล้านตันข้าวเปลือก 2) ข้าวหอมไทย 2.084 ล้านไร่ ผลผลิต 1.396 ล้านตันข้าวเปลือก 3) ข้าวเจ้า 13.488 ล้านไร่ ผลผลิต 8.192 ล้านตันข้าวเปลือก 4) ข้าวเหนียว 16.253 ล้านไร่ ผลผลิต 5.770 ล้านตันข้าวเปลือก และ 5) ข้าวตลาดเฉพาะ 0.559 ล้านไร่ ผลผลิต 0.219 ล้านตันข้าวเปลือก
2.3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
2.4) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่โครงการส่งเสริมระบบนาแบบแปลงใหญ่โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตพืช โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวกข43 และข้าวเจ้าพื้นนุ่ม (กข79) และโครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าว
2.5) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย
2.6) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการชาวนาปราดเปรื่อง
2.7) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ โครงการปรับปรุงและการรับรองพันธุ์ข้าวคุณภาพดีเพื่อการแข่งขัน และโครงการปรับปรุงและการรับรองพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นนุ่มพันธุ์ใหม่
2.8) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ โครงการสินเชื่อเพื่อสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศ
4.1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร และโครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ
4.2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีโครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกรโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อกและโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศ
5.1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ การเจรจาขยายตลาดข้าวและกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าในต่างประเทศ โครงการกระชับความสัมพันธ์ และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทยเพื่อขยายตลาดไทยในต่างประเทศ และโครงการ ลด/แก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าข้าวไทยและเสริมสร้างความเชื่อมั่น
5.2) ส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าวและนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและขยายตลาดข้าวไทยเชิงรุก โครงการผลักดันข้าวหอมมะลิไทยคุณภาพดีจากแหล่งผลิตสู่ตลาดโลก โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทยในงานแสดงสินค้านานาชาติ โครงการจัดประชุม Thailand Rice Convention 2021 และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
5.3) ส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐาน และปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย
5.4) ประชาสัมพันธ์รณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยในตลาดข้าวต่างประเทศ
2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64 มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 และงบประมาณ ดังนี้
2.1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 โดยกำหนดชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) ดังนี้ (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน (2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน (3) ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน (4) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และ (5) ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
2.2) มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 ประกอบด้วย
3 มาตรการ ได้แก่
(1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2563/64 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร จำนวน 1.50 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 11,000 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 9,500 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 5,400 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 7,300 บาท และข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 8,600 บาท รวมทั้งเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2563/64 โดย ธ.ก.ส.สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 15,000 ล้านบาท
คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3 ต่อปี
(3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2563/64 ผู้ประกอบการค้าข้าวรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อก เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกรได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 - 31 มีนาคม 2564 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2564) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
3) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64
ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร  เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลดต้นทุนการผลิต ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ (ครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท) ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ขอดำเนินการจ่ายเงินเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ปีการผลิต 2563/64 รอบที่ 1 กับกรมส่งเสริมการเกษตร ในอัตราไร่ละ 500 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท ก่อนในเบื้องต้น
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 10,301 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 10,253 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.47
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 8,230 บาท ราคาลดลงจากตันละ 8,172 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.71
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 30,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,750 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 13,512 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.76
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 888 ดอลลาร์สหรัฐฯ (26,697 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 876 ดอลลาร์สหรัฐฯ (26,263 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.37 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 434 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 503 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,122 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 496 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,871 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.41 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 251 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 500 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,032 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 492 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,751 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.62 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 281 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 30.0646 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
2.1 สถานการณ์ข้าวโลก
1) การผลิต
ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์ผลผลิตข้าวโลกปี 2563/64 ณ เดือนพฤศจิกายน 2563 ผลผลิต 501.109 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 496.069 ล้านตันข้าวสาร ในปี 2562/63 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.02
2) การค้าข้าวโลก
บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์บัญชีสมดุลข้าวโลก ปี 2563/64
ณ เดือนพฤศจิกายน 2563 มีปริมาณผลผลิต 501.109 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2562/63 ร้อยละ 1.02 การใช้ในประเทศ 499.242 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2562/63 ร้อยละ 0.84 การส่งออก/นำเข้า 44.263 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2562/63 ร้อยละ 1.33 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 179.777 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก
ปี 2562/63 ร้อยละ 1.05
โดยประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ กัมพูชา อียู กายานา ปากีสถาน แอฟริกาใต้ ไทย และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ อาร์เจนตินา บราซิล เมียนมา อินเดีย ปารากวัย ตุรกี อุรุกวัย และเวียดนาม
สำหรับประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ เบนิน คาเมรูน ไอเวอรี่โคสต์ เอธิโอเปีย อียู กานา กินี อิหร่าน อิรัก เคนย่า ฟิลิปปินส์ เซเนกัล แอฟริกาใต้ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เยเมน และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าลดลง ได้แก่ บราซิล จีน เม็กซิโก และซาอุดิอาระเบีย
ประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีเพิ่มขึ้น ได้แก่ อินเดีย และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะมีสต็อกคงเหลือปลายปีลดลง ได้แก่ บังกลาเทศ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และไทย
2.2 สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
          กัมพูชา
          รัฐมนตรีกระทรวงเกษตร (Minister of Agriculture, Forestry and Fisheries) ระบุว่า ในปีนี้มีการส่งออกข้าวเปลือกผ่านทางชายแดนไปยังเวียดนามอย่างต่อเนื่อง โดยในแต่ละวันมีการส่งออกข้าวเปลือกหลายชนิดไปยังเวียดนามประมาณ 22,131 ตัน โดยผ่านจังหวัดตามแนวชายแดน ซึ่งมีการส่งออกไปประมาณวันละ 10,524 ตัน บางวันสูงถึง 22,131 ตัน ทั้งนี้ กระทรวงเกษตร ระบุว่า นับตั้งแต่ต้นปีจนถึงวันที่ 12 พฤศจิกายน 2563 กัมพูชาส่งออกข้าวเปลือกไปยังเวียดนามแล้วประมาณ 1,536,350 ตัน ประกอบด้วยข้าวหลายพันธุ์ เช่น Rumduol ราคาประมาณตันละ 270 ดอลลาร์สหรัฐฯ IR 504 ราคาประมาณตันละ 220 ดอลลาร์สหรัฐฯ OM5451 ราคาประมาณตันละ 220 ดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่ผู้เกี่ยวข้องในวงการค้าของกัมพูชา ระบุว่า พ่อค้าคนกลางจากเวียดนามจะเข้ามารับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรของกัมพูชาโดยตรงแล้วส่งออกไปยังเวียดนามทางชายแดนวันละประมาณ 4 – 5 รถบรรทุก
          เมื่อปีที่ผ่านมา ราคาข้าวในกัมพูชาตกต่ำเหลือประมาณ 170 – 190 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน เนื่องจากพ่อค้าจากเวียดนามไม่เข้ามารับซื้อข้าว ซึ่งต่างจากปีนี้ที่ราคาพุ่งสูงขึ้นมาอยู่ที่ประมาณ 240 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน แต่ยังคงมีพ่อค้าเข้ามารับซื้ออย่างต่อเนื่อง โดยราคาในช่วงนี้จะอยู่ที่ประมาณ 230 – 240 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน
          ที่มา : Oryza.com
 
          จีน
          ประเทศจีนมีพื้นที่ดินเค็มที่ไม่สามารถปลูกข้าวได้ประมาณ 83 ล้านไร่ ด้วยเหตุนี้ โครงการวิจัยและพัฒนา
ข้าวน้ำเค็ม จึงมีความสำคัญต่อความมั่นคงทางอาหารของจีนอย่างมาก โดยปกติแล้ว เมล็ดข้าวทั่วไปไม่สามารถงอก
ในน้ำที่มีความเค็มมากกว่า 0.3% เนื่องจากไม่สามารถดูดซึมน้ำได้และจะขาดน้ำตาย แต่ข้าวที่ทนน้ำเค็มได้ต้องสามารถงอกได้ในน้ำที่มีความเค็ม 0.9% - 1.2 % เนื่องจากเมื่อน้ำทะเลขึ้น ต้นข้าวจะจมอยู่ในน้ำทะเล 3 – 4 ชั่วโมง
          ลักษณะเด่นของข้าวน้ำเค็ม เช่น รากยาว 30 – 40 ซม. ต้นข้าวที่โตเต็มที่จะสูงกว่าข้าวทั่วไป รวงข้าว
ขนาดใหญ่และมีสีแดงเลือดนก ต้นข้าวทนต่อน้ำท่วม/ต้านศัตรูพืชและโรคต่างๆ ต้นข้าวล้มยาก เป็นต้น นอกจากนี้
ไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ย/ยาฆ่าแมลง นับว่าเป็นข้าวที่ปลอดภัยอย่างแท้จริง
          การวิจัยข้าวน้ำเค็มของจีนได้เริ่มตั้งแต่ปี 2524 ต่อมาปี 2529 คุณ Cheng Risheng (ประธานสหกรณ์การปลูกข้าวน้ำเค็ม เมือง SuiXi มณฑลกวางตุ้ง) พบข้าวน้ำเค็มในป่าโดยบังเอิญและได้ดำเนินการวิจัยต่อเนื่องมากว่า 30 ปี ต่อมาคุณ Yuan Longping (บิดาแห่งข้าวพันธุ์ไฮบริดที่มีชื่อเสียงอย่างมากในจีน) ได้วิจัย/พัฒนาต่อเนื่อง ทำให้ผลผลิตข้าวน้ำเค็มเพิ่มขึ้นโดยลำดับ
          เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2563 ทีมงานวิจัยของ Yuan Longping ได้ติดตามผลผลิตข้าวน้ำเค็มของพื้นที่ทดลองในมณฑลเจียงซู พบว่า มีผลผลิตโดยเฉลี่ย 1,926 กิโลกรัม/ไร่ ซึ่งนับว่าผลผลิตสูงสุดเป็นประวัติการณ์
          หากคำนวณผลผลิตข้าวน้ำเค็ม โดยคิดจากพื้นที่ที่สามารถปลูกข้าวน้ำเค็มทั้งหมด ประมาณ 83 ล้านไร่ ผลผลิตข้าวน้ำเค็มเฉลี่ย 600 กิโลกรัม/ไร่ พบว่า จะมีผลผลิตข้าวน้ำเค็มประมาณ 50 ล้านตัน ซึ่งสามารถใช้เป็นอาหารเลี้ยงประชากรได้ถึง 200 ล้านชีวิต
          นอกจากนี้ ยังมีผลวิจัยที่ระบุว่า การปลูกข้าวในน้ำเค็มเป็นระยะเวลาติดต่อกัน 3-5 ปี ทำให้พื้นดินที่ใช้ปลูกข้าวดังกล่าว เปลี่ยนเป็นดินที่สามารถปลูกพืชที่ไม่ทนเค็มได้ นอกจากนี้ การปลูกข้าวน้ำเค็มดึงดูดให้นกกระยางมาอาศัย
ซึ่งช่วยฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพได้ในระดับหนึ่ง
          ความเห็นของสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองเซี่ยเหมิน :ขณะนี้จีนมีประชากรกว่า 1,4001.สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2563/64 ประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์และอุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 28.786 ล้านตันข้าวเปลือกอุปทาน 30.865 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว
2.1) การวางแผนการผลิตข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการวางแผนการผลิตข้าว ปี 2563/64
รวม 69.409 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 30.865 ล้านตันข้าวเปลือก จำแนกเป็น รอบที่ 1พื้นที่ 59.884 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 24.738 ล้านตันข้าวเปลือก และรอบที่ 2 พื้นที่ 9.525 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 6.127 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถปรับสมดุลการผลิตได้ในการวางแผนรอบที่ 2 หากราคามีความอ่อนไหว ความต้องการใช้ข้าวลดลง และสถานการณ์น้ำน้อย รวมทั้งการปรับลดพื้นที่การปลูกข้าวไปปลูกพืชอื่น โดยจะมีการทบทวนโครงการ
ลดรอบการปลูกข้าวก่อนฤดูกาลเพาะปลูกข้าวรอบที่ 2
2.2) การจัดทำพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการจัดทำพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 จำนวน 59.884 ล้านไร่ แยกเป็น 1) ข้าวหอมมะลิ 27.500 ล้านไร่ ผลผลิต 9.161 ล้านตันข้าวเปลือก 2) ข้าวหอมไทย 2.084 ล้านไร่ ผลผลิต 1.396 ล้านตันข้าวเปลือก 3) ข้าวเจ้า 13.488 ล้านไร่ ผลผลิต 8.192 ล้านตันข้าวเปลือก 4) ข้าวเหนียว 16.253 ล้านไร่ ผลผลิต 5.770 ล้านตันข้าวเปลือก และ 5) ข้าวตลาดเฉพาะ 0.559 ล้านไร่ ผลผลิต 0.219 ล้านตันข้าวเปลือก
2.3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
2.4) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่โครงการส่งเสริมระบบนาแบบแปลงใหญ่โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตพืช โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวกข43 และข้าวเจ้าพื้นนุ่ม (กข79) และโครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าว
2.5) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย
2.6) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการชาวนาปราดเปรื่อง
2.7) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ โครงการปรับปรุงและการรับรองพันธุ์ข้าวคุณภาพดีเพื่อการแข่งขัน และโครงการปรับปรุงและการรับรองพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นนุ่มพันธุ์ใหม่
2.8) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ โครงการสินเชื่อเพื่อสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศ
4.1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร และโครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ
4.2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีโครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกรโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อกและโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศ
5.1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ การเจรจาขยายตลาดข้าวและกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าในต่างประเทศ โครงการกระชับความสัมพันธ์ และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทยเพื่อขยายตลาดไทยในต่างประเทศ และโครงการ ลด/แก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าข้าวไทยและเสริมสร้างความเชื่อมั่น
5.2) ส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าวและนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและขยายตลาดข้าวไทยเชิงรุก โครงการผลักดันข้าวหอมมะลิไทยคุณภาพดีจากแหล่งผลิตสู่ตลาดโลก โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทยในงานแสดงสินค้านานาชาติ โครงการจัดประชุม Thailand Rice Convention 2021 และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
5.3) ส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐาน และปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย
5.4) ประชาสัมพันธ์รณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยในตลาดข้าวต่างประเทศ
2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 และงบประมาณ ดังนี้
2.1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1โดยกำหนดชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) ดังนี้ (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน (2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน (3) ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน (4) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และ (5) ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
2.2) มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 ประกอบด้วย
3 มาตรการ ได้แก่
(1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2563/64โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร จำนวน 1.50 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 11,000 บาทข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 9,500 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 5,400 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 7,300 บาท และข้าวเปลือกเหนียวตันละ 8,600บาทรวมทั้งเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกรปีการผลิต 2563/64โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 15,000 ล้านบาท
คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3 ต่อปี
(3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2563/64 ผู้ประกอบการค้าข้าวรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อก เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกรได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 - 31 มีนาคม 2564 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2564) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน)นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
3) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64
ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร  เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลดต้นทุนการผลิต ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ (ครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท) ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ขอดำเนินการจ่ายเงินเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ปีการผลิต 2563/64 รอบที่ 1 กับกรมส่งเสริมการเกษตร ในอัตราไร่ละ 500 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท ก่อนในเบื้องต้น
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 11,115 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 10,762 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.28
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 8,329 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 8,299 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.36
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 30,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,950 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 899 ดอลลาร์สหรัฐฯ (26,829 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 893 ดอลลาร์สหรัฐฯ (26,786 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.67 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 43 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 515 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,369 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 512 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,358 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.59 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 11 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 512 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,280 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 509 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,268 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.59 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 12 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 29.8436 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ

          ไทย: พาณิชย์เผยข้าวหอมมะลิไทยคว้าแชมป์ 2563 คาดปีนี้ส่งออกได้ 5.8 ล้านตัน

          นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ในปีนี้ข้าวหอมมะลิไทย 105
ได้รับรางวัลข้าวที่ดีที่สุดในโลก (World’s Best Rice Award 2020) จากการประกวดข้าว ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ภายในงานประชุมข้าวโลก (World Rice Conference) จัดโดย The Rice Trader ของสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 1 - 3 ธันวาคม 2563 โดยปีนี้จัดงานแบบออนไลน์เป็นครั้งแรก ถือว่าไทยสามารถกลับมาทวงแชมป์ได้อีกครั้ง และเป็นแชมป์ครั้งที่ 6 จากที่จัดมาทั้งหมด 12 ครั้ง นับตั้งแต่ปี 2552 ส่วนเวียดนามได้อันดับ 2 และกัมพูชาได้อันดับ 3
          อย่างไรก็ตาม ภายใต้ยุทธศาสตร์ข้าวไทย ระยะ 5 ปี คือปี 2563-2567 จะมุ่งพัฒนาพันธุ์ข้าวชนิดใหม่ๆ รวม 12 สายพันธุ์ เพื่อรองรับความต้องการของตลาดให้มากขึ้น แบ่งเป็น ข้าวพื้นแข็ง 4 สายพันธุ์, ข้าวพื้นนุ่ม 4 สายพันธุ์, ข้าวหอมมะลิไทย 2 สายพันธุ์ และข้าวคุณค่าทางโภชนาการสูงอีก 2 สายพันธุ์
          "มั่นใจว่า นับจากนี้ไทยจะมีพันธุ์ข้าวที่หลากหลาย ตอบสนองความต้องการของตลาดได้อีกมาก การที่ข้าวไทยได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดข้าวโลก ถือเป็นผลงานร่วมกันของคนไทยทุกคนและทุกภาคส่วน ทั้งเกษตรกร โรงสี ผู้ประกอบการ ผู้ส่งออกข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ และรัฐบาล" นายจุรินทร์กล่าว
          โดยเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม เป็นวันพ่อแห่งชาติ และเป็นวันชาติ ดังนั้น รางวัลที่ประเทศไทยได้รับครั้งนี้ จะเป็นการเฉลิมพระเกียรติในหลวงรัชกาลที่ 9 ด้วยเพราะทรงมีคุณูปการเป็นอย่างยิ่งกับวงการข้าวไทย เพราะพระองค์ท่านทรงเป็น "พระบิดาแห่งการวิจัยและการพัฒนาข้าวไทย"
          "ถือว่าเป็นการนับหนึ่งที่เป็นรูปธรรมของการประกาศยุทธศาสตร์ข้าวไทยปี 2563 - 2567 ที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาลแล้ว มีการตั้งเป้าหมายไว้ชัดเจนว่าใน 5 ปีนี้ ประเทศไทยจะเป็นผู้นำการผลิตการตลาดข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวคุณภาพของโลก" รองนายกฯ และ รมว.พาณิชย์กล่าว
          โดยผลจากการที่ไทยได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดข้าวโลก จะส่งผลดีทั้งในส่วนของเกษตรกร และระบบการค้าข้าวของไทยในอนาคต เป็นการยกระดับความเชื่อมั่นด้านคุณภาพข้าวของไทยในตลาดโลก
          ด้านนายเจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า ในทุกปีจะมีจัดการประชุมผู้ค้าข้าว
ทั่วโลก ซึ่งปีนี้จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 1 - 3 ธันวาคม 2563 ผ่านระบบออนไลน์ และในวันสุดท้ายมีการแถลงผล
การประกวดข้าวที่ดีที่สุดในโลก ซึ่งมีประเทศที่ส่งข้าวเข้าประกวดประกอบด้วย ไทย เวียดนาม กัมพูชา จีน และสหรัฐอเมริกา รวมข้าว 20 กว่าตัวอย่าง ซึ่งข้าวจากประเทศไทยได้รับรางวัลชนะเลิศเป็น World’s Best Rice Award 2020 หรือข้าวที่ดีที่สุดในโลกปี 2563 โดยเป็นข้าวพันธุ์ข้าวหอมมะลิที่เพิ่งเก็บเกี่ยวในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา
          "ถือเป็นเรื่องที่น่ายินดี การแข่งขันมีมา 12 ครั้ง ประเทศไทยได้รางวัลครั้งนี้ เป็นครั้งที่ 6 ยืนยันได้ว่าคุณภาพของข้าวไทยไม่เป็นรองใครในโลก ถ้าเราสามารถช่วยกันพัฒนาและเดินตามนโยบายของท่านรองนายกฯ เชื่อว่าเราจะเป็นแชมป์ไปอีกหลายปี" นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยระบุ
          พร้อมกันนี้ ต้องการให้รัฐบาลให้ความสำคัญกับการพัฒนาสายพันธุ์ข้าวให้หลากหลายมากขึ้น และ
ลดกฎระเบียบต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาพันธุ์ข้าว ไม่เช่นนั้นไทยอาจไม่สามารถรักษาข้าวที่ดีที่สุดในโลกไว้ได้ เพราะคู่แข่งอย่างเวียดนาม กัมพูชา พัฒนาสายพันธุ์ข้าวได้อย่างรวดเร็วและหลากหลาย
          อย่างไรก็ดี ในปีนี้คาดว่าไทยจะส่งออกข้าวได้ประมาณ 5.6 - 5.8 ล้านตันเท่านั้น น้อยกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 6.5 ล้านตัน ขณะที่ปี 2564 ตั้งเป้าส่งออกข้าวไว้ที่ 7 - 7.5 ล้านตัน
          นายกีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวว่า ภาพรวมการส่งออกข้าวไทยตั้งแต่ 1 มกราคม - 2 ธันวาคม 2563 (ข้อมูลสถิติกรมศุลกากรและใบอนุญาตส่งออก) ส่งออกได้รวม 5.1 ล้านตัน มูลค่า 108,918 ล้านบาท ทั้งปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 28 และร้อยละ 11 ตามลำดับ โดยข้าวหอมมะลิของไทยยังคงครองตลาดส่งออกหลัก คือ สหรัฐฯ แคนาดา ฮ่องกง และสิงคโปร์ไว้ได้ แม้การส่งออกข้าวไปตลาดอื่นจะซบเซาลงอันเนื่องจากเศรษฐกิจโลก
และสถานการณ์โควิด-19 ประกอบกับข้าวไทยราคาสูงเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่ง แม้จะต่างกับเวียดนามไม่มาก
แต่ราคาสูงกว่าข้าวอินเดียกว่า 100 ดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้ศักยภาพในการแข่งขันของไทยลดลง
          สำหรับการเจรจากับ COFCO รัฐบาลจีนภายใต้สัญญาซื้อขายข้าวแบบ G to G ที่เหลืออีก 3 แสนตัน
ล่าสุดเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2563 กรมการค้าต่างประเทศได้หารือกับ COFCO ผ่านระบบ Video Conference เจรจาการซื้อข้าวในงวดที่ 8 ปริมาณ 1 แสนตัน ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะเร่งพิจารณาราคาเสนอขายเพื่อให้ได้ข้อยุติโดยเร็ว และเพื่อให้สอดคล้องกับความคืบหน้าสัญญารถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ที่ได้ลงนามในสัญญา 2.3 มูลค่า 5 หมื่นล้านบาท
เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2563
          ที่มา : www.ryt9.com
 
          บังคลาเทศ
          รัฐบาลได้อนุมัติข้อเสนอนำเข้าข้าวจากอินเดียจำนวน 50,000 ตัน จากที่มีการเปิดประมูลนำเข้าข้าวนึ่ง
[INTERNATIONAL QUOTATION NOTICE FOR IMPORT OF NON-BASMATI PARBOILED RICE (PACKAGE-01)] ครั้งที่ 1 จำนวน 50,000 ตัน เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ซึ่งผู้ชนะการประมูลคือ บริษัท PK Agri Link Pvt Ltd of West Bengal ซึ่งเสนอข้าวราคาตันละ 416 ดอลลาร์สหรัฐฯ (CIF liner out) คิดเป็นมูลค่าข้าวทั้งหมดประมาณ 20.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ [ราคารวมค่าขนส่ง (The cost, including shipment) ประมาณ 35.27 ทากาต่อกิโลกรัม]
          การประมูลครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมหลายรายที่ยื่นเสนอราคาต่างกัน (CIF liner out terms) เช่น บริษัท Agrocorp International เสนอราคาตันละ 416.85 ดอลลาร์สหรัฐฯ (เสนอข้าวจากอินเดีย ไทย เวียดนาม หรือเมียนมา) บริษัท Sukhbir Agro Energy เสนอราคาตันละ 419.95 ดอลลาร์สหรัฐฯ (เสนอข้าวจากอินเดีย ไทย เวียดนาม หรือปากีสถาน) บริษัท Swiss Singapore Overseas เสนอราคาตันละ 421.49 ดอลลาร์สหรัฐฯ (เสนอข้าวจากอินเดีย), บริษัท KRBL เสนอราคาตันละ 427.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (เสนอข้าวจากอินเดีย)
          นอกจากนี้ หน่วยงาน Directorate General of Food (DGF) ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านธัญพืชของรัฐบาลยังได้ประกาศเปิดการประมูลนำเข้าข้าวนึ่ง [INTERNATIONAL QUOTATION NOTICE FOR IMPORT OF NONBASMATI PARBOILED RICE (PACKAGE-02)] ครั้งที่ 2 จำนวน 50,000 ตัน โดยกำหนดให้ยื่นข้อเสนอภายในวันที่ 2 ธันวาคม 2563 และข้อเสนอต้องมีผลไปจนถึงวันที่ 10 ธันวาคม 2563 โดยผู้สนใจต้องยื่นข้อเสนอราคาในเทอม CIF (CIF liner out terms, including cost, insurance, freight and ship unloading costs) และกำหนดให้มีการส่งมอบข้าวภายในระยะเวลา 40 วัน หลังจากที่มีการทำสัญญาแล้ว
          สำหรับความคืบหน้าของการประมูลครั้งที่ 2 นั้น มีการเสนอราคาต่ำสุดที่ตันละ 404.35 ดอลลาร์สหรัฐฯ
จำนวน 50,000 ตัน โดย บริษัท Rika Global ของอินเดีย
          รัฐบาลวางแผนที่จะนำเข้าข้าวเพิ่มเป็น 500,000 ตัน ในปีนี้ เพื่อเพิ่มสต็อกข้าวและรักษาเสถียรภาพราคาข้าวในประเทศ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการผลิตข้าวในช่วงที่ผ่านมา โดยคาดว่ารัฐบาลจะเริ่มจัดหาข้าวอีกประมาณ 100,000 ตัน ในเร็วๆ นี้ หลังจากที่จัดประมูลไปแล้ว 2 ครั้ง จำนวนรวม 100,000 ตัน
ซึ่งได้มีการอนุมัติซื้อจากผู้ที่ชนะการประมูลในครั้งที่ 1 จำนวน 50,000 ตัน แล้ว
          ทั้งนี้ ทางการบังคลาเทศได้ตั้งข้อสังเกตว่าชาวนาในพื้นที่และโรงสีไม่สนใจที่จะส่งข้าวให้โกดังของรัฐบาล เนื่องจากผลผลิตที่ลดลงอันเนื่องมาจากสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย
          ก่อนหน้านี้ รัฐมนตรีกระทรวงการอาหาร ระบุว่า รัฐบาลบังคลาเทศมีแผนที่จะประมูลนำเข้าข้าวประมาณ 300,000 ตัน เนื่องจากเกิดภาวะอุปทานข้าวในประเทศขาดแคลน เพราะผลผลิตข้าวบางส่วนได้รับความเสียหายจากอุทกภัยในช่วงที่ผ่านมา
          ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
 
          ฟิลิปปินส์
          กระทรวงเกษตร (the Department of Agriculture; DA) ระบุว่า รัฐบาลได้ตั้งเป้าหมายผลผลิตข้าวเปลือก
ในปี 2564 ไว้ที่ 20.48 ล้านตัน โดยคาดว่าในช่วงครึ่งปีแรกจะมีผลผลิตข้าวเปลือกประมาณ 9.02 ล้านตัน ซึ่งการจะ
ไปถึงเป้าหมายดังกล่าว กระทรวงเกษตรฯ ได้วางแผนที่จะใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวลูกผสมที่มีคุณภาพสูง ทั้งในฤดูนาปีและ
ฤดูนาปรังที่มีการเพาะปลูกในเขตชลประทาน และจะมีการใช้เงินงบประมาณจากกองทุนส่งเสริมการแข่งขันข้าว
(Rice Competitive Enhancement Fund; RCEF) ประมาณ 208 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อใช้ในหลายโครงการ เช่น เครื่องจักรกลการเกษตร การปรับปรุงพันธุ์ข้าว การให้สินเชื่อ การฝึกอบรม และการส่งเสริมการเพาะปลูก
          รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรกล่าวว่า จะส่งเสริมการเพาะปลูกพันธุ์ข้าวที่เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค เพื่อให้ เกษตรกรมีรายได้สูงขึ้น นอกจากนี้กระทรวงเกษตรกำลังวางแผนเพิ่มความเข้มข้นในการส่งเสริมโครงการเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ เพื่อลดการสูญเสียของพืชผลในช่วงที่มีพายุไต้ฝุ่นพัดเข้ามาในประเทศ
          สำนักงานสถิติแห่งชาติ (the Philippine Statistics Agency; PSA) รายงานว่า ในช่วงสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนพฤศจิกายน 2563 (วันที่ 13 พฤศจิกายน 2563) ราคาข้าวเปลือกมีแนวโน้มปรับตัวลดลง ขณะที่ราคาข้าวสาร
ในประเทศมีทั้งปรับตัวลดลงและสูงขึ้นจากช่วงสัปดาห์ก่อนหน้า (ราคาข้าวเคยปรับสูงขึ้นไปสู่ระดับสูงสุดในช่วงสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนกันยายน 2561) โดยราคาข้าวเปลือกเฉลี่ย (The average farm-gate paddy price) อยู่ที่ 15.38 เปโซต่อกิโลกรัม หรือประมาณตันละ 320 ดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงจาก 15.41 เปโซต่อกิโลกรัม หรือประมาณตันละ 320 ดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงสัปดาห์ก่อนหน้า และลดลงประมาณร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
          ขณะที่ราคาขายส่งข้าวสารเกรดดี (The average wholesale price of the well-milled rice) อยู่ที่ 37.56 เปโซต่อกิโลกรัม หรือประมาณตันละ 782 ดอลลาร์สหรัฐฯ สูงขึ้นจาก 37.52 เปโซต่อกิโลกรัม หรือประมาณตันละ 780 ดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า และสูงขึ้นประมาณร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ส่วนราคาขายปลีกข้าวสารเกรดดี (The average retail price of the well-milled rice) อยู่ที่ 41.29 เปโซต่อกิโลกรัม หรือประมาณตันละ 859 ดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงจาก 41.38 เปโซต่อกิโลกรัม หรือประมาณตันละ 860 ดอลลาร์สหรัฐฯ  ในช่วงสัปดาห์ก่อนหน้า และลดลงประมาณร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
          ราคาขายส่งข้าวสารเกรดธรรมดา (The average wholesale price of the regular-milled rice) อยู่ที่ 33.46 เปโซต่อกิโลกรัม หรือประมาณตันละ 696.5 ดอลลาร์สหรัฐฯ สูงขึ้นจาก 33.43 เปโซต่อกิโลกรัม หรือประมาณตันละ 694.8 ดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า และสูงขึ้นประมาณร้อยละ 1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว และราคาขายปลีกข้าวสารเกรดธรรมดา (The average retail price of the regular-milled rice) อยู่ที่ 36.37 เปโซต่อกิโลกรัม หรือประมาณตันละ 757 ดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงจาก 36.44 เปโซต่อกิโลกรัม หรือประมาณตันละ 757.4 ดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า และลดลงประมาณร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
          ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย


กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.79 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.86 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.89 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.97 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 5.99 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.33
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ  8.96 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.91 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.56 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.68 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.61 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.81
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 304.33 ดอลลาร์สหรัฐ (9,082 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากตันละ 300.00 ดอลลาร์สหรัฐ (8,999 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.44 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 83 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนมีนาคม 2564 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 418.67 เซนต์ (4,992 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 420.20 เซนต์ (5,034 บาท/ตัน)   ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.36 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 42 บาท


 


มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2564 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 – กันยายน 2564) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.09 ล้านไร่ ผลผลิต 29.883 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.29 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2563 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.92 ล้านไร่ ผลผลิต 28.999 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.25 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.91 ร้อยละ 3.05 และร้อยละ 1.23 ตามลำดับ โดยเดือนพฤศจิกายน 2563 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 1.32 ล้านตัน (ร้อยละ 4.42 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2564 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2564 ปริมาณ 18.47 ล้านตัน (ร้อยละ 61.81 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงต้นฤดูการเก็บเกี่ยว หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา สำหรับโรงงานแป้งมันสำปะหลังและลานมันเส้นเริ่มเปิดดำเนินการ
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.05 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1.93 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 2.22
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.38 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 6.44 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.93
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.50 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.45 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.67
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.45 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 13.39 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.45
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 275 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,207 บาทต่อตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 273 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,189 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.73)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้ไม่มีรายงาน


 


ปาล์มน้ำมัน

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2563 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนธันวาคมจะมีประมาณ 0.846 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.152 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 0.914 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.165 ล้านตัน ของเดือนพฤศจิกายน คิดเป็นร้อยละ 7.44 และร้อยละ 7.88 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 6.86 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 6.37 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 7.69                         
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 39.29 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 38.50 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ร้อยละ 2.05                               
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มมาเลเซียลดลงตามราคาน้ำมันคู่แข่ง ถึงแม้ว่าผลผลิตลดลง ราคาอ้างอิงเดือนกุมภาพันธ์ ตลาดเบอร์ซามาเลเซีย ลดลงร้อยละ 0.45 อยู่ที่ตันละ 3,351 ริงกิต ผลการสำรวจของรอยเตอร์ พบว่า ผลผลิตเดือนพฤศจิกายนลดลงร้อยละ 10 จากเดือนตุลาคม และสต็อกลดลงร้อยละ 2 
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 3,650.41 ดอลลาร์มาเลเซีย (27.41 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 3,489.95 ดอลลาร์มาเลเซีย (26.29 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.60  
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 934.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (28.28 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 909.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (27.66 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.75
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน

 


อ้อยและน้ำตาล

 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้ กิโลกรัมละ 17.78 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 17.00 บาท ในสัปดาห์ ที่ผ่านมาร้อยละ 4.59
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา 
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,155.60 เซนต์ (12.91 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1,168.64 เซนต์ (13.07 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.12
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 384.48 ดอลลาร์สหรัฐฯ (11.64 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 393.48 ดอลลาร์สหรัฐฯ (11.97 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.29
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 38.81 เซนต์ (25.90 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 38.03 เซนต์ (25.51 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.05


 

 
ยางพารา

 

 
สับปะรด



 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.97 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 23.43 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.30
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.00 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 32.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 12.50
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 26.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 23.08
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,241.25 ดอลลาร์สหรัฐ (37.07 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 1,155.40 ดอลลาร์สหรัฐ (34.66 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.43 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 2.41 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,106.50 ดอลลาร์สหรัฐ (33.04 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 980.40 ดอลลาร์สหรัฐ (29.41 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 12.86 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 3.63 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,376.25 ดอลลาร์สหรัฐ (41.09 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 1,369.80 ดอลลาร์สหรัฐ (41.09 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.47 แต่ทรงตัวในรูปเงินบาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 668.00 ดอลลาร์สหรัฐ (19.95 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 664.80 ดอลลาร์สหรัฐ (19.94 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.48 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,268.25 ดอลลาร์สหรัฐ (37.87 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 1,262.80 ดอลลาร์สหรัฐ (37.88 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.43 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท


 

 
ถั่วลิสง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.47 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสดสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.35 สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 28.82 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.84
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน


 

 
ฝ้าย

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนมีนาคม 2564 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 72.65 เซนต์(กิโลกรัมละ 48.50 บาท) เพิ่มขึ้นจากปอนด์ละ 72.06 เซ็นต์ (กิโลกรัม 48.34 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.82 ลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.16 บาท)


 

 
ไหม

 

 
ปศุสัตว์

 

 
 

 
ประมง

สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 4 – 10 ธันวาคม 2563) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
  สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.90 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 78.38 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.48 บาท
  สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท ราคา  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 144.79 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 137.27 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 7.52 บาท
 สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 152.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 146.67 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.33 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง) ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.48 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 66.54 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.06 บาท
  สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง) ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 100.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
  สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 200.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.19 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
 สำหรับราคาขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา